++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประวัติวัดบางขวาก
ชื่อวัดบางขวาก มีความหมายว่า
เพราะมีคลองมาจดแม่น้ำท่าจีนตรงนี้ และมีวัดตั้งอยู่ใกล้ปากคลอง
จึงเรียกตามสภาพของพื้นที่ ต่อมามีการย้ายกุฏิมาทางทิศใต้ซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบัน
เดิมทีเป็นที่รกร้าง เป็นทางข้ามของ หัวขโมย สมัยก่อน เวลาเจ้าของตามมากก็จะปัก “ขวาก” เป็นไม้แหลม
“หลาวเป็นรูปใบหอก” ปักไว้
ผู้ติดตามก็ต้องรำวังทำให้ติดตามไม่ทัน โดยที่เป็นดงปักขวากจึงเรียกวัดบางขวาก
ตามพื้นที่การสร้างวัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างแต่สมัยใด แล้วใครเป็นคนสร้าง
ได้แต่สันนิฐานเอาว่า คงสร้างมากกว่า 200 ปี เพราะดูจากการลงประกาศเป็นวัดเมื่อพ.ศ
2350 แต่วัดคงสร้างมาก่อน และปรากฏหลักฐานทางหนังสือวรรณคดี “นิราศเมืองสุพรรณ” วรรณกรรมชิ้นสำคัญของพระยาสุนทรโวหาร
(สุนทรภู่) ท่านได้ประพันธ์ไว้ “เมื่อท่านมาเมืองสุพรรณ” ในปี พ.ศ 2384
โดยได้พรรณนาระบุถึงวัดบางขวากนี้ไว้ว่า
ล่วงทางบางขวากตุ้ง เขตไพร
เห็นแต่แร่รถไคล เคลือบคล้ำ
ซ้ายขวาป่าสูงไสว ว่างย่านบ้านเอย
เด็กใคร่ไปปลายน้ำ สนุกแท้แควเหนือ
ส่วนชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกจนติดปากคือ
“วัดปากคลองบากขวาก”
2.สถานที่วัดมีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่างๆดังนี้
ทิศตะวันออก
ติดที่ดินราชพัสดุ และที่ดินของเอกชน
ทิศตะวันตก ติดแม่น้ำท่าจีน หรือเขตชลประทาน
ทิศเหนือ ติดคลองบางขวาก หรือเขตชลประทาน
ทิศใต้ ติดที่ดินราชพัสดุ
หรือโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี
วัดมีที่ดินจำนวน
37 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ตลาดปากคลองบางขวาก เลขที่ 133 หมู่ 6
ตำบลย่านยาว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
3.ถาวรวัตถุภายใน
วัดบางขวาก ที่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
3.1
อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 ผู้สร้าง
ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก
3.2
ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 ผู้สร้าง ประชาชน
เป็นลักษณะทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก
เป็นอาคาร
2 ชั้น
3.3
หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย
ตัวอาคารไม้ทั้งหลัง ฝาไม้สักโดยรอบ
3.4
หอฉัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2515 ผู้สร้าง
ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย ตัวอาคารเป็นไม้ทั้งหลังหอ
3.5 โรงเรียนปริยัติธรรม
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นอาคาร 2 ชั้น
ชั้นบนเป็นไม้
ชั้นล่างคอนกรีตเสริมเหล็ก
3.6
ฌาปนากิจ (น้ำตาลสุพรรณประชาวัฒน์) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520
ผู้สร้างพนักงานโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี พร้อมด้วย ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก
3.7
มณฑปจตุรมุข สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 ผู้สร้าง
ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก
3.8
ศาลาท่าน้ำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 ผู้สร้าง ประชาชน
เป็นลักษณะทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก
3.9
หอระฆัง 2 หลัง สร้างเมื่อ 2484 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นไม้ทั้งหมด
3.10
กุฏิสงฆ์ทั้งหมดมี 12 หลัง
กุฏิ
1 สร้างเมื่อ 2484 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
2 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2492 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
3 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
4 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
5 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 ผู้สร้าง นายไสว นางเล็ก สว่างอารมณ์
เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
6 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 ผู้สร้าง นางทัศนีย์ นิลประภา นายบุญธรรม นางสุภาพ
อาทรธรรมคุณ เป็นลักษณะทรงไทย
เป็นเรือนไม้ทั้งหมด
กุฏิ
7 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
8 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 ผู้สร้าง นายเปี้ยน นางแหวน นุชรนารถ นายเทพ นางทวี นุชนาฏ
เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
9 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
10 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
กุฏิ
11 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย 2 ชั้น ชั้นบนวัสดุเป็นไม้
ชี้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
กุฏิ
12 สร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง
3.11
ศาลากองอำนวยการ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 ผู้สร้าง ประชาชน เป็นลักษณะทรงไทย อาคารไม้
4.
ปูชนียวัตถุภายในวัด มีหลวงพ่อพระประธาน (ดำ)
ที่ช้าวบ้านนับถือศรัทธาเคารพเป็นอย่างมาก
5.
การบูรณปฏิสังขรณ์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด
5.1 เมื่อ พ.ศ.2530
บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์ กุฏิหลังที่ 10 ย้ายมาอยู่ที่ใหม่ สิ้นเงิน 32,500 บาท
5.2 เมื่อ พ.ศ. 2531 บูรณปฏิสังขรณ์ฌาปนสถาน
(เตาเผา) สิ้นเงิน 53,500 บาท
5.3 เมื่อ พ.ศ. 2532 บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์
กุฏิ 1-10 ทาสีใหม่ทั้งหมด สิ้นเงิน 13,500 บาท
5.4 เมื่อ พ.ศ. 2535 บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิอุโบสถ
สร้างกำแพงแก้ว เทพื้นคอนกรีต สร้างซุ้มประตู และทาสี
สิ้นเงิน 48,655 บาท
5.5 เมื่อ พ.ศ. 2551 บูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างต่อเติมศาลาการเปรียญ
ทาสีใหม่ หมดทั้งหลัง ทาสีกระเบื้อง เทพื้นชั้นล่าง ก่อฝาผนัง ลงพื้นหินขัด
ใส่กระจกประตูหน้าต่าง ติดตั้งอุปกรณ์ ไฟฟ้าและพัดลม สิ้นเงิน 1,546,449 บาท
5.6 เมื่อ พ.ศ. 2553 บูรณปฏิสังขรณ์ฌาปนสถาน
เปลี่ยนกระเบื้อง ทำใบระกา เปลี่ยนฝ้า ทาสี เดินสายไฟ ติดหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง
ติดพัดลม สิ้นเงิน 563,836 บาท
5.7 เมื่อ พ.ศ. 2553 บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์
กุฏิหลังที่ 11 เปลี่ยนกระเบื้อง เปลี่ยนพื้นกระดาน ทาสี สิ้นเงิน 71,842 บาท
5.8 เมื่อ พ.ศ. 2544 บูรณปฏิสังขรณ์หอสวดมนต์
ทาสีกระเบื้อง เปลี่ยนฝ้า ทาสีทำลวดลายหน้าบัน ใบระกาเดินสายไฟฟ้า
ติดหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง สิ้นเงิน 87,421
บาท
5.9 เมื่อ พ.ศ. 2544 บูรณปฏิสังขรณ์โรงครัว
เปลี่ยนกระเบื้อง เปลี่ยนฝาไม้ใหม่ ชั้นล่างก่ออิฐ เทพื้น ทาสี เดินสายไฟฟ้า
ติดหลอด สิ้นเงิน 293,721 บาท